ภาพรวม
Forex คืออะไร?
ตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (Forex หรือ FX) คือการแลกเปลี่ยนสกุลเงินข้ามประเทศ และเป็นตลาดการเงินที่มีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าการซื้อขายสกุลเงินกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ในวันเดียว ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ได้รับความนิยมน้อยลง Forex ไม่เหมือนกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ตรงที่ไม่มีตลาดแลกเปลี่ยนผ่านส่วนกลาง และมีการซื้อขายผ่านธนาคาร โบรกเกอร์ ตัวแทนจำหน่าย สถาบันการเงิน และผ่านบุคคลเป็นการส่วนตัวเป็นหลัก
เนื่องจากความสามารถของสถาบันทางการเงินในการซื้อขาย Forex ทำให้ตลาด Forex เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ (ปิดให้บริการในเช้าวันเสาร์)ก่อนถึงช่วงปลายของทศวรรษ 1990 การซื้อขาย Forex เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปสำหรับเทรดเดอร์ระดับสถาบันเท่านั้น และแม้ว่าเทรดเดอร์รายย่อยจะสามารถซื้อขายในตลาด Forex ได้ก็ตาม แต่ Forex พึ่งเริ่มโด่งดังและเป็นเรื่องปกติทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไปในการทำกำไรเมื่อไม่นานมานี้
สกุลเงินส่วนใหญ่ของโลกเป็นแบบ “free floating” ซี่งหมายความว่าสกุลเงินจะมีการรักษามูลค่าเอาไว้ และจะแข็งค่าและอ่อนค่ากับสกุลเงินอื่น ๆ ด้วย สกุลเงินจะมีการลิสต์เป็นคู่เสมอ เพราะจะต้องเทียบประสิทธิภาพเป็นคู่
ทำไมคุณต้องซื้อขาย Forex?
การซื้อ Forex มีหลากหลายวัตถุประสงค์ด้วยกัน มีอยู่หลายระดับการซื้อขายที่ส่งผลกระทบกับตัวคุณโดยที่ไม่รู้ตัว สำหรับทุกการซื้อขาย เนื้อหา ส่วนผสม ผลพลอยได้ ส่วนประกอบ หรือวัสดุอาจไม่ได้จำเป็นต้องมาจากแหล่งที่มาภายในประเทศเสมอไป องค์ประกอบหลายอย่างอาจถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ และด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ
สำหรับมุมมองทางการเงิน บางคนอาจซื้อขายในตลาด Forex เพื่อทำกำไร เมื่อใช้คู่สกุลเงินที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดอลลาร์สหรัฐ (cross currency pair) พวกเขาอาจแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่มีเป็นสกุลเงินต่างประเทศ โดยหวังให้ค่าสกุลเงินภายในประเทศลดต่ำลง เพื่อให้เมื่อคุณแปลงกลับเป็นสกุลเงินเดิม คุณจะได้รับมูลค่ามากกว่าเดิม
ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการต่างประเทศมีโอกาสดี ๆ มากมายผ่านทางตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศที่มีความผันผวน การชำระเงินอาจเป็นเรื่องยาก ในตอนแรกบริษัทต่าง ๆ จะตกลงขายตามราคาที่ตกลงกันไว้ จากนั้นในวันชำระเงิน มูลค่าที่ตกลงไว้จะตกลงน้อยกว่าเดิมมาก อันเนื่องมาจากการผันผวนของสกุลเงินที่เรียกว่า “ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน”
คุณจะได้พบกับธุรกิจทุกประเภท ตั้งแต่สถาบันการเงินขนาดใหญ่จนไปถึงผู้ขนส่งรายย่อยที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พูดง่าย ๆ ก็คือ บริษัทเหล่านี้จะวางมาตรการเพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่าชำระเงินที่ตกลงไว้จะยังคงมีมูลค่าเท่าเดิม ณ วันที่ชำระเงิน ไม่ว่าจะมีการผันผวนของสกุลเงินมากแค่ไหนก็ตาม
8 สกุลเงินหลัก
ในต่างประเทศ มีสกุลเงินทั้งหมด 8 สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากกว่าสกุลเงินอื่นๆ โดยสกุลเงินเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “สกุลเงินหลัก” ได้แก่
- USD — ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
- JPY — เยนญี่ปุ่น
- GBP — ปอนด์บริติช
- CAD — ดอลลาร์แคนาดา
- EUR — ยูโร
- CHF — ดอลลาร์สวิตเซอร์แลนด์
- AUD — ดอลลาร์ออสเตรเลีย
- NZD — ดอลลาร์นิวซีแลนด์
เวลาซื้อขาย
ในบางพื้นที่ของโลกจะเปิดให้ซื้อขายในบางเวลาของวันเสาร์ เพราะในตลาดที่อื่น ๆ ยังคงเป็นวันศุกร์อยู่
สถาบันทางการเงินในประเทศเหล่านี้อาจติดต่อกับตลาด Forex ในระหว่างช่วงเวลาทำการ ตลาด Forex เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย เวลาทำการของตลาดที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปตามข้อมูลดังต่อไปนี้
- เซสชั่น ซิดนีย์ เริ่มต้นที่ 7:00am และสิ้นสุด 4:00pm โดยประมาณ
- เซสชั่น โตเกียว เริ่มต้นที่ 9:00am และสิ้นสุด 6:00pm โดยประมาณ
- เซสชั่น ลอนดอน เริ่มต้นที่ 5:00pm และสิ้นสุด 2:00pm โดยประมาณ
- เซสชั่น นิวยอร์ก เริ่มต้นที่ 10:00pm และสิ้นสุด 7:00pm โดยประมาณ
การซื้อขาย Forex มีหลักการทำงานอย่างไร?
เทรดเดอร์รายบุคคล (รายย่อย) ต้องการซื้อขายคู่สกุลเงินโดยการถือสกุลเงินที่แข็งค่า และแปลงสกุลเงินที่ถือครองเป็นสกุลเงินอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าเงินตก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พัฒนามาเพื่อสร้างผลกำไรจากทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง
ผลิตภัณฑ์การเงินที่มีความซับซ้อนนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สัญญา ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางโบรกเกอร์ของคุณเพื่อทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ของคุณจะทำให้คุณสามารถซื้อหรือขายสัญญาดังกล่าวเพื่อทำกำไร คุณจะไม่สามารถซื้อหรือขายสัญญาเหล่านี้จริง ๆ ได้ แต่จะเป็นการดำเนินตามคำสั่งซื้อขายแทน
ตำแหน่งที่เข้าเพื่อทำกำไรจากมูลค่าสกุลเงินที่เพิ่มขึ้นคือ คำสั่งซื้อ(BUY order) ส่วนตำแหน่งที่เข้าเพื่อทำกำไรจากมูลค่าสกุลเงินที่ตกลงคือ คำสั่งขาย(SELL order)
พื้นฐาน Forex
คู่สกุลเงินคืออะไร?
สกุลเงินมีการวัดเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ เสมอซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า คู่สกุลเงิน คู่สกุลเงินมีการแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ คู่หลัก (Majors), คู่รอง (Minors) และคู่เกิดใหม่ (Exotics) คู่สกุลเงินหลักคือคู่สกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ EUR/USD, USD/JPY, GBP/USD และ AUD/USD
คู่สกุลเงินส่วนใหญ่เป็นแบบ free floated ซึ่งหมายความว่าคู่สกุลเงินเหล่านี้จะไม่มีราคาล็อกไว้กับสกุลเงินตัวอื่น และสามารถเพิ่มหรือลดมูลค่าได้อย่างอิสระ
Pip คืออะไร?
Pip คือหน่วยวัดการเปลี่ยนแปลงในสกุลเงินอ้างอิง (underlying currency) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นทศนิยมหลักที่สี่ (0.0001) ของราคาสกุลเงินปัจจุบัน ยกเว้นกับสกุลเงินเยนญี่ปุ่นที่ไม่มีหน่วยวัดเงินเซนต์ในสกุลเงินของพวกเขา (สำหรับสกุลเงินเยนญี่ปุ่น pip คือทศนิยมหลักที่สอง)
ทศนิยมหลักที่สี่ (ทศนิยมหลักที่สองสำหรับสกุลเงินเยนญี่ปุ่น) ถูกทำเครื่องหมายเป็นสีแดงไว้เพื่อแสดงว่า pip อ้างอิงถึงทศนิยมตำแหน่งใด หากราคา 0.70074 ขยับไปที่ 0.70084 เราจะถือว่ามีการเคลื่อนไหว 1 pip ในทำนองเดียวกัน หากราคา 113.215 ขยับไปที่ 113.225 ก็คิดเป็นการเคลื่อนไหว 1 pip เช่นกัน
pip เหมาะสำหรับการใช้เป็นตัวอ้างอิงว่าเทรดเดอร์ทำเงินได้เท่าไหร่ตามปริมาณการซื้อขายของพวกเขา ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์ซื้อ 1 ล็อตมาตรฐาน (100,000) ในคู่สกุลเงิน AUD/USD นั่นหมายความว่ามูลค่าของแต่ละการเคลื่อนไหวของ pip คือ 10 USD หากมีการเคลื่อนไหว 10 pip ก็จะเกิดเป็นกำไร/ขาดทุนเท่ากับ 100 USD
มีอยู่บ่อยครั้งที่คำอธิบายที่ใช้เพื่อวัดว่าเทรดเดอร์ทำผลงานได้เป็นอย่างไร มีการวัดโดยดูว่าพวกเขาได้ “pip” มากน้อยแค่ไหนในช่วงเวลาที่กำหนด
Bid, Ask และ Spread คืออะไร?
สำหรับสกุลเงิน คุณสามารถทำได้ทั้งซื้อและขาย และจะมีส่วนต่างระหว่างการซื้อและการขายเสมอ ราคาขายและซื้อจะแสดงโดย Bid และ Ask ตามลำดับ
หากคุณซื้อ BUY คุณจะซื้อที่ราคา ASK หากคุณขาย คุณจะขายที่ราคา BID วิธีจำง่าย ๆ ก็คือคุณจะซื้อที่ราคาสูงกว่าเสมอ รายการที่แสดงด้านล่างคือคู่สกุลเงินที่แสดงทั้งราคา Bid และราคา Ask
โปรดจำไว้ว่าหากคุณเปิดตำแหน่งซื้อ แล้วต้องการที่จะปิดตำแหน่งดังกล่าว จะถือว่าคุณกำลังขายคืนกลับไป ทำให้ราคาที่คุณปิดตำแหน่งเป็นราคา BID และในทางกลับกัน การปิดตำแหน่งเมื่อขายจะเกิดขึ้นที่ราคา ASK
Spread คือส่วนต่างระหว่าง BID และ ASK สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย หากคุณมองที่ภาพด้านบนและดูที่คู่สกุลเงิน AUD/USD คุณจะสังเกตเห็นว่า BID เท่ากับ 0.69923 และ ASK เท่ากับ 0.69940
นี่คือค่า spread ที่เท่ากับ 1.7 pips ซึ่งคิดมาจาก 0.69940 - 0.69923 = 0.00017 = 1.7 pip
ในแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 (MT4) spread จะแสดงเป็นคะแนน(1 pip = 10 คะแนน) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม spread จึงเท่ากับ 17 ในภาพที่แสดงด้านล่าง
เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร?
เลเวอเรจ (Leverage) คือจำนวนเงินที่คุณยืมตามการเงินฝากในบัญชีของคุณ ค่าเริ่มต้นของเลเวอเรจถูกตั้งไว้ที่ 1:100 ซึ่งหมายความว่าสำหรับทุก ๆ 1 USD ที่คุณมีในบัญชีของคุณ คุณจะมีกำลังซื้ออยู่ที่ 100 USD หากคุณมีเงิน 1,000 USD ในบัญชีของคุณ คุณจะมีกำลังซื้ออยู่ที่ 100,000 USD
สิ่งที่ควรทราบก็คือ 1 สัญญามาตรฐานเท่ากับ 100,000 ของสกุลเงินหลัก หากคุณต้องการซื้อขายสัญญาแบบเต็มแล้วมีเลเวอเรจอยู่ที่ 1:500 คุณสามารถเปิดตำแหน่งได้โดยมีเงินอยู่ในบัญชีเพียงแค่ 200 USD (200 USD x 500 = 100,000 USD) เลเวอเรจสูง ๆ สามารถช่วยให้คุณสามารถเปิดตำแหน่งด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้น โดยมีเงินทุนในบัญชีของคุณไม่มาก แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกัน การเปิดตำแหน่งด้วยจำนวนเงินที่มากจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของดอลลาร์ต่อ pip มากขึ้น ทำให้สามารถล้างเงินทุนที่มีจำนวนไม่มากให้หายไปได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ
กรณีศึกษา
ในตอนนี้คุณได้เรียนรู้พื้นฐานของการซื้อขาย Forex เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสรุปก็คือหากคุณต้องเลือกคู่สกุลเงิน ตัวอย่างเช่น AUD/USD แล้วเปิดคำสั่งซื้อ 2 สัญญามาตรฐาน (2 ล็อต) ที่ราคา 0.84693
คุณต้องมียอดเงินอย่างน้อย 2,000 USD ในบัญชี โดยใช้เลเวอเรจ 1:100
ด้วยขนาด 2 สัญญามาตรฐาน คุณจะได้ 20 USD ต่อการเคลื่อนไหว pip ตำแหน่ง BUY จะเป็นตัวระบุว่าหากราคาคู่สกุลเงิน AUD/USD แข็งค่า คุณจะทำกำไรได้
สมมติว่า AUD/USD แข็งค่าขึ้นเป็น 0.84973 คุณจะได้เพิ่ม 28 pips ส่งผลให้ได้กำไร 28 pips x 20 USD = 560 USD ซึ่งเทียบเท่ากับ 659 AUD
เริ่มต้นก้าวแรก
บัญชีทดลองใช้เป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้น คุณสามารถสมัครและฝึกฝนโดยใช้บัญชีทดลองได้เสมอ โดยที่ไม่ต้องนำเงินจริงมาเสี่ยง
ในครั้งแรกที่เข้าสู่ระบบมายังแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม โปรดใช้เวลาสักครู่เพื่อดูข้อมูลที่มีอยู่ หน้าต่าง Market Watch จะแสดงราคาสกุลเงินสำหรับคู่สกุลเงินที่มี และแผนภูมิจะแสดงข้อมูลไทม์ไลน์ตามการแสดงราคา
ต่อมาโปรดลองดูที่คู่สกุลเงินสักหนึ่งคู่ ลองเลือกมาได้เลย เลือกแบบสุ่มก็ได้ สมมติว่าคุณเลือกคู่สกุลเงิน AUD/USD (โปรดดูเลข 1 ในภาพด้านบนประกอบ) เปิดคำสั่งซื้อขาย แล้วคุณจะได้พบกับตัวเลือกให้ "SELL"(ขาย) หรือ "BUY"(ซื้อ) (โปรดดูเลข 2 ในภาพด้านบนประกอบ) ต่อมาเราต้องการให้คุณซื้อขาย คุณสามารถดำเนินการคำสั่งซื้อขายโดยคลิกที่ปุ่ม “SELL”(ขาย) หรือ “BUY”(ซื้อ)
ในตอนนี้คุณได้ทำการซื้อขายครั้งแรกบนแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (โปรดดูเลข 3 ในภาพด้านบนประกอบ)
ในตอนนี้คุณจะเห็นได้ว่าการซื้อขายได้รับการดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้เวลาสักครู่ในการดูว่าการซื้อขายเมื่อครู่มีผลงานเป็นอย่างไร
หลังจากผ่านไปสักครู่ คุณจะสังเกตเห็นว่าการซื้อขายของคุณมีโอกาสได้ทั้งกำไรและขาดทุน (โปรดดูเลข 4 ในภาพด้านบนประกอบ)
ไม่ว่าการซื้อขายแบบสุ่มครั้งนี้จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งไหนก็ตาม ในตอนนี้คุณก็ได้รู้วิธีการทำกำไร และการขาดทุนในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกังวลไปหากการซื้อขายของคุณขาดทุน เพราะนี่เป็นเพียงการซื้อแบบสุ่มๆ และเป็นเพียงแบบฝึกหัดเพื่อฝึกซื้อขายเท่านั้น วิธีการเลือกทิศทางของการซื้อขายที่เหมาะสมจะมาในภายหลังการพัฒนากลยุทธ์แล้ว
เมื่อได้ฝึกฝนแล้ว ในตอนนี้คุณได้ผ่านขั้นตอนแรกในการเรียนรู้วิธีการซื้อขายแล้ว คุณสามารถปิดการซื้อขายครั้งนี้ได้เมื่อต้องการ หรือคุณสามารถเปิดแล้วนั่งดูต่อก็ได้เช่นกัน
แผนภูมิ Forex
หากคุณอ่านแผนภูมิไม่เป็น คุณจะไม่เข้าใจข้อมูลอะไรเลย และไม่สามารถนำข้อมูลนั้นมาสร้างกลยุทธ์ได้
แผนภูมิสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภท ได้แก่
- แผนภูมิเส้น
- แผนภูมิแท่ง
- แผนภูมิแท่งเทียน
แผนภูมิเส้น
แผนภูมิที่อ่านง่ายที่สุดคือแผนภูมิแท่ง เพราะเป็นการแสดงเพียงแค่กราฟเส้นเทียบระหว่างเวลากับราคาเท่านั้น
แผนภูมิแท่ง
แผนภูมิถัดไปที่เราจะมาดูกันคือแผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งไม่ได้แสดงแค่ราคาเท่านั้น แต่ยังแสดงราคาเข้าในแต่ละช่วงเวลา ราคาออกเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลา และค่าสูงและต่ำของช่วงเวลาดังกล่าว เส้นแนวนอนแต่ละเส้นจะแสดงถึงหนึ่งช่วงเวลา โดยคุณเป็นคนที่เลือกช่วงเวลาได้เอง ได้แก่ 1 นาที, 5 นาที, 15 นาที, 30 นาที, 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง, หนึ่งวัน, หนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน
มาเจาะลึกที่แผนภูมิแบบนี้กันสักนิด ปลายของแผนภูมิแท่งแสดงถึงราคาตามที่ระบุ ดังนั้น Open คือราคาเปิด, Close คือราคาปิด, High คือราคาสูงสุด และ Low คือราคาต่ำสุดในช่วงกรอบเวลาดังกล่าว
แผนภูมิแท่งเทียน
แผนภูมิแท่งเทียนมีความคล้ายคลึงกับแผนภูมิแท่งเลย แต่มีข้อมูลเสริมเพิ่มเข้ามา ซึ่งก็คือสีแดง (ราคาตก) หรือสีเขียว (ราคาเพิ่มขึ้น) สีต่าง ๆ ทำให้เทรดเดอร์สามารถเห็นภาพได้อย่างง่าย ๆ ว่าแท่งขยับไปในทิศทางขึ้นหรือลงโดยนับจากราคาเข้า
ทีนี้มาเจาะลึกที่แผนภูมิแท่งเทียนกันสักนิด ปลายของแผนภูมิแท่งแสดงแท่งจะแสดงราคาตามที่ระบุ ดังนั้น Open คือราคาเปิด, Close คือราคาปิด, High คือราคาสูงสุด และ Low คือราคาต่ำสุดในช่วงกรอบเวลาดังกล่าว
ยังงงๆอยู่ใช่ไหม? ไม่ต้องห่วง อ่านต่อไปแล้วเราจะโชว์ให้ดูว่าคุณจะสามารถตีความแผนภูมิเหล่านี้ได้อย่างไรในส่วนถัดไป
ตีความแผนภูมิ
จะอ่านแผนภูมิได้อย่างไร?
ตอนนี้คุณก็ได้รู้จักลักษณะของแผนภูมิเส้น แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิแท่งเทียนไปแล้ว แต่จะสามารถตีความได้ยังไงล่ะ?
ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจก่อนว่าแท่งหรือแท่งเทียนจะแสดงถึงหนึ่งกรอบเวลา โดยกรอบเวลาสามารถกำหนดได้ตามความชอบของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งนาที สามสิบนาที หนึ่งชั่วโมง หนึ่งวัน หรือแม้แต่หนึ่งเดือน ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้แล้วคุณจะเห็นได้ว่าแต่ละแท่งคือหนึ่งชั่วโมง
แกน x แสดงช่วงเวลา และแกน y แสดงราคาของคู่สกุลเงิน ดังนั้น แต่ละชั่วโมงจึงแสดงด้วยหนึ่งแท่งเทียน ในแต่ละชั่วโมงราคาจะมีการผันผวนขึ้นลงจนเกิดเป็นแท่งเทียนที่มีราคา High, Low, Open และ Close
แท่งเทียนแต่ละแท่งสามารถมีขนาดและความยาวได้ทุกแบบ
- แท่งเทียนยาว ๆ บ่งบอกว่าค่า high และ low มีความแตกต่างกันมาก
- แท่งเทียนที่สั้นบ่งบอกว่าตลาดไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก
- ตัวอย่างเช่น ตอนตี 2 มีการเคลื่อนไหวมากกว่า เมื่อเทียบกับตอนตี 3
ไส้เทียนคืออะไร?
เมื่อใช้งานแผนภูมิแท่งหรือแท่งเทียน “ไส้เทียน”(shadows) คือคำที่ใช้เรียกส่วนหนึ่งของแท่งหรือแท่งเทียนที่ไปแตะจุด high หรือ low แต่ไม่ได้ปิดช่วงเวลาดังกล่าวที่จุด high หรือ low คุณจะได้เห็นไส้เทียนของแท่งหรือแท่งเทียนแต่ละแท่ง หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีจุด high หรือ low ในภาพด้านล่าง จะมีการวงกลมแท่งเทียนโดยใช้สีม่วง
แนวรับคืออะไร?
ไส้เทียนคือสิ่งที่บ่งบอกว่าตลาด ณ เวลานั้นอาจแตะที่จุด high แล้ว แต่มีการถอยกลับและปิดที่จุดที่ต่ำกว่า ไส้เทียนอาจปรากฏขึ้นเมื่อสินทรัพย์อ้างอิง (คู่สกุลเงิน) แตะที่จุดหนึ่ง ๆ ที่มีการต่อต้านจากผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ โดยการเสนอราคาที่สูงกว่าจุด high ที่แสดง
ในทางกลับกันอาจพูดได้ว่า มีแนวรับกดราคาไปอีกทางหนึ่ง หากคุณเห็นไส้เทียนหลายไส้ในทิศทางเดียว เช่น แท่งหรือแท่งเทียนที่มีไส้เทียนในทิศทางเดียวต่อกันไปเรื่อยๆ
แนวรับหมายถึงราคา (ตามที่แสดงในเส้นตรงด้านบน) ที่มักจะทำหน้าที่เป็นพื้นเพื่อป้องกันราคาของคู่สกุลเงินไม่ให้ดันต่ำไปกว่าราคาที่แนวรับ
แนวต้านคืออะไร?
ในภาพต่อมา คุณจะเห็นได้ว่าแท่งเทียนแตะที่จุด high หนึ่งๆ แต่ดูเหมือนว่าจะยังเอาชนะจุดที่เพดานไม่ได้
เส้นแนวนอนที่บ่งบอกว่ามีระดับในจินตนาการเกิดขึ้น ทำให้ผู้เข้าร่วมในตลาดรู้สึกว่าไม่ควรดันค่าเงินทะลุผ่านไป สิ่งที่ตรงข้ามกับแนวรับคือแนวต้าน โดยเทรดเดอร์ต้องวิเคราะห์และวาดทั้งแนวรับและแนวต้านด้วยตนเอง
เส้นแนวโน้มคืออะไร?
เส้นแนวโน้ม (Trend line) คือเส้นที่มักจะวาดบนแผนภูมิเพื่อหาทิศทางของตลาด คนที่อยู่หน้าแผนภูมิจะวาดเส้นจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อกำหนดทิศทางของตลาดโดยรวม
จุด “x” สองจุดที่เส้นลากผ่าน คือจุด low ของสองช่วงเวลาในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จุดสองจุดห่างกัน 36 กรอบเวลา (gap ระหว่างช่วงเวลาอาจเป็นตัวเลขใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้อง 36 กรอบเวลา) เส้นแนวโน้มจะวาดจากสองจุด low ที่ “x” เส้นนี้เป็นแนวโน้มขาขึ้นที่ชัดเจนมาก เส้นแนวโน้มมีประโยชน์กับกลยุทธ์ตามแนวโน้ม
เส้นแนวโน้มมีประโยชน์ในการหาทิศทางของตลาดในปัจจุบัน หากต้องการยืนยันแนวรับและแนวต้าน คุณต้องมีสองจุดเพื่อสร้างเส้น
เส้นแชนแนลคืออะไร?
เส้นแชนแนล (Channel line) จะถูกวาดเพื่อแสดงทิศทางโดยรวม โดยคำนึงถึง “ไส้เทียน”(shadow) ของแท่งที่มีทั้งแนวรับและแนวต้าน
การวาดแชนแนลจะทำให้เห็นถึงแชนแนลที่ซื้อขายโดยทั่วไป สิ่งนี้เป็นประโยชน์มากเมื่อใช้ “กลยุทธ์แบบ Range”(ranging strategy) และสำหรับการเข้าถึงโอกาสสำหรับ “กลยุทธ์แบบ Break out” ซึ่งเราจะพูดถึงในส่วนถัดไป
กลยุทธ์ Forex
เมื่อได้ลองซื้อขายแบบสุ่ม ๆ ไปแล้ว คุณคงจะได้เข้าใจแล้วว่าเมื่อวางคำสั่งเพื่อซื้อหรือขาย คุณมีโอกาสทั้งได้และเสีย หลักการค่อนข้างเข้าใจได้ง่าย เลือกทิศทางให้ถูกต้องแล้วคุณจะทำเงินได้เอง แต่คำถามที่สำคัญก็คือ “ฉันจะเลือกทิศทางที่ถูกต้องได้อย่างไรล่ะ?”
ความจริงก็คือ หากเราสามารถรู้ได้จริง ๆ ว่าตอนไหนควรซื้อหรือขาย ทุกคนคงจะรวยกันไปแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มีวิธีใดที่รับประกันได้ว่าจะเลือกทิศทางที่ตรงตามการเคลื่อนไหวของตลาด อย่างไรก็ตามก็มีกลยุทธ์ที่ผ่านการทดลองมาแล้วมากมายที่คุณสามารถใช้เพื่อตัดสินใจได้ ทำให้โอกาสในการซื้อขายที่ได้กำไรมีมากขึ้น
กลยุทธ์ (Strategies) คือแนวทางปฏิบัติที่เป็นระบบและมีแบบแผนตามข้อมูลตลาดที่คุณรู้ การซื้อขาย Forex มีกลยุทธ์ให้ใช้มากมาย โดยคุณสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจากการค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีหนังสือและคนที่จะมาสอนกลยุทธ์เหล่านี้ให้ฟรี ๆ ด้วย เทรดเดอร์ทั้งระดับมืออาชีพและคนที่ทำเป็นงานอดิเรกทั่วโลกจะมีกลยุทธ์อย่างน้อยหนึ่งอย่างที่พวกเขายึดมั่น และเป็นกลยุทธ์ที่มีส่วนต่อความสำเร็จในการซื้อขายจากการทำตามกลยุทธ์การซื้อขาย ส่วนดังต่อไปนี้จะมาพูดถึงกลยุทธ์ยอดนิยมที่เทรดเดอร์หลายคนเลือกใช้
กลยุทธ์ตามแนวโน้ม
กลยุทธ์ตามแนวโน้ม (Trending strategy) คือการทำตามทิศทางตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน คู่สกุลเงินมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งแนวโน้มแบบ “bullish”(ขาขึ้น) หรือ “bearish”(ขาลง)
เมื่อทำตามแนวโน้มของคู่สกุลเงินเฉพาะ คุณกำลังยึดมั่นตามความจริงที่ว่าสกุลเงินจะยังคงดำเนินต่อไปในทิศทางเดิม และคุณจะได้กำไรจากการทำตามทิศทางตลาด กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในการซื้อขายสกุลเงิน
แนวโน้มอาจเกิดขึ้นนาน หรืออาจจะสั่นก็ได้ หมายความว่ามีโอกาสเกิดได้ทั้งแนวโน้มระยะยาวและระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ในระหว่างช่วง 6 เดือน มีแนวโน้มขาขึ้นเกิดขึ้นกับคู่สกุลเงิน AUD/USD แต่ในระหว่างช่วง 6 เดือนนี้ มี 2 ช่วงสั้น ๆ ที่เป็นขาลง ต่อไปนี้คือภาพกราฟิกตามตัวอย่างที่ได้กล่าวมา
หากคุณถือตำแหน่งซื้อตั้งแต่จุดเริ่มต้นของช่วงเวลา 6 เดือนจนถึงสิ้นสุด คุณจะได้กำไรมากมาย แต่โปรดระวังให้ดีเมื่อมองหาแนวโน้ม ในบางครั้งเวลาที่มองแผนภูมิ คุณอาจจะเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนมาก แต่หากคุณขยายแผนภูมิแล้วได้เห็นข้อมูลที่มากขึ้น ก็จะพบว่าแนวโน้มไปคนละทางเลย ด้วยเหตุนี้เอง การมองหาแนวโน้มจึงควรดูกรอบเวลาของทุกแผนภูมิ
กลยุทธ์แบบ Range
กลยุทธ์แบบ Range (Ranging Strategy) เกิดขึ้นเมื่อสกุลเงินมีการซื้อขายระหว่างขีดจำกัดบนและล่าง และดูเหมือนว่าจะเด้งขึ้นลงระหว่างค่าขีดจำกัด high และ low อย่างต่อเนื่อง เทรดเดอร์จะใช้โอกาสนี้ในการขายเมื่ออยู่ที่ขีดจำกัดบน และซื้อเมื่ออยู่ที่ขีดจำกัดล่าง
ที่ภาพด้านล่าง คุณจะได้เห็นแนวโน้มไซต์เวย์ (sideway trend) ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับคนที่ใช้กลยุทธ์แบบ Range
กลยุทธ์แบบ Breakout
กลยุทธ์เบรกเอาท์(Breakout Strategy) คือการเบรกเอาท์ของแนวโน้มไซต์เวย์ โดยปกติแล้วโมเมนตัมจะมากที่สุดที่จุดเบรกเอาท์ มีเทรดเดอร์มากมายที่ใช้กลยุทธ์เบรกเอาท์เมื่อราคาทะลุขีดจำกัดด้านบนและด้านล่าง
ที่ด้านล่างนี้คือเบรกเอาท์บางส่วนที่ทำตามช่วงเวลาแนวโน้มไซต์เวย์
กลยุทธ์การซื้อขายตามข่าวประชาสัมพันธ์
เทรดเดอร์สายข่าวจะซื้อขายจากข่าวเศรษฐกิจ ตลาด Forex มีการตอบสนองต่อข่าวเศรษฐกิจ ข่าวอัตราดอกเบี้ยจากประเทศ G8 เช่นเดียวกับข่าวการว่างงานของแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้อง
เทรดเดอร์สายข่าวจะต้องทราบว่าการเคลื่อนไหวของตลาด Forex ได้เกิดขึ้นตามข่าวเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้วและมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น การเคลื่อนไหวแบบพุ่งขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากข่าวเศรษฐกิจคือการปรับฐาน (corrections) อันเนื่องมาจากข่าวที่ไม่คาดคิด ทั้งดีกว่าที่คิดหรือแย่กว่าที่คิด
อีกหนึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับเทรดเดอร์สายข่าวก็คือ ในระหว่างที่การรายงานข่าวให้ความรู้สึกไปในทิศทางลบ การเคลื่อนไหวของสกุลเงินมักจะหันไปหาสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนต่ำและ 'ปลอดภัยกว่า' โดยเฉพาะ USD และ JPY
หากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่อยากเริ่มซื้อขายตามข่าวสาร ขอแนะนำให้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์
ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจคือสิ่งที่ควรใช้งานเป็นอย่างมาก ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex แสดงวันปล่อยข่าวสำคัญ ๆ อย่างเช่น “ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร” ตัวเลข GDP และข่าวอัตราดอกเบี้ย
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างของปฏิทินเศรษฐกิจ
ปฏิทิน Forex จะแสดงข้อมูลที่คาดการณ์และข้อมูลที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ หากข่าวและข้อมูลที่ปล่อยจริงแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ คุณสามารถคิดไว้ได้เลยว่าสกุลเงินอ้างอิงของประเทศนั้น ๆ จะตอบสนองในทางลบ
การจัดการความเสี่ยง
การซื้อขายตลาด Forex อาจทำให้คุณได้กำไร อย่างไรก็ตาม คุณมีโอกาสเสียเงินไปจำนวนมากหากไม่บริหารเงินทุนไว้ให้ดี โดยทั่วไปแล้วในแต่ละการซื้อขายจะมีการตั้ง Stop loss ไว้เพื่อให้แน่ใจว่าการซื้อขายที่วิ่งสวนทางคุณจะไม่ทำให้คุณเสียเงินทุนที่ลงทุนไว้จนหมด
Stop loss คือเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะปิดที่จุดนั้น การตั้ง stop loss ที่เหมาะสมคือสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะขาดทุนน้อยที่สุด สำหรับเทรดเดอร์ที่ไม่อยากนั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกนาทีที่เปิดตำแหน่ง stop loss คือสิ่งที่คุณห้ามพลาด
การตั้งยอดที่คุณเสียไหวคือสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน โดยทั่วไปแล้วระดับความเสี่ยงจะถูกกำหนดไว้ระหว่าง 1% และ 5% ของยอดคงเหลือทั้งหมดในบัญชีการซื้อขาย นั่นหมายความว่า ที่ระดับความเสี่ยง 5% คุณจะสามารถซื้อขายแบบขาดทุนได้ 20 ครั้งก่อนที่เงินทุนของคุณจะหมดไป หากคุณพบว่าตัวเองขาดทุนอยู่บ่อยๆ คุณอาจต้องทบทวนกลยุทธ์ใหม่
ยกตัวอย่างเช่น คุณฝากเงินเริ่มต้น 1,000 USD หากต้องการเสี่ยง 2% ต่อการซื้อขาย คุณต้องกำหนด stop loss ไว้ให้ปิดการซื้อขายโดยทำให้คุณขาดทุนเป็นเงิน 20 USD (1,000 USD x 2% = 20 USD)
อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณบริหารความเสี่ยงแล้ว เพราะนี่คือหนึ่งในส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการซื้อขายระยะยาว
จิตวิทยาการซื้อขาย
การจัดการอารมณ์ของคุณ
มีอยู่บ่อยครั้งที่ศัตรูในเรื่องการซื้อขายไม่ใช่ตลาด แต่เป็นตัวคุณเอง เมื่อซื้อขาย ความโลภและความกลัวมักจะเข้ามาจำกัดโอกาสในการได้ผลตอบแทนจากการซื้อขายที่ได้กำไร และในทางกลับกันอาจส่งผลให้ขาดทุนเกินกว่าที่ควรเป็น หรืออาจเปลี่ยนจากการซื้อขายที่ได้กำไรเป็นขาดทุนก็เป็นได้
เทรดเดอร์ทุกคน(ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ) มีโอกาสถือการซื้อขายที่ขาดทุนไว้นานเกินไปโดยไม่มีเหตุผลอะไรนอกจาก “ความหวัง” ให้การซื้อขายครั้งนั้นจะกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง และนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าการโลภจนเกินไป
หรือ ความกลัวของการรีบขายทำกำไรเร็วจนเกินไป หรือปิดตอนขาดทุนนิดเดียวโดยที่ยังมีโอกาสทำกำไรได้ ก็เป็นอีกหนึ่งการตอบสนองทางอารมณ์ที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยน เทรดเดอร์เก่ง ๆ จะทำตามแผนการซื้อขายอย่างเคร่งครัดทั้งในเรื่องการบริหารเงินและความเสี่ยง การเข้าซื้อ กฎการออก และไม่ปล่อยให้อารมณ์มามีอิทธิพลต่อการซื้อขาย
จากบัญชีทดลอง สู่บัญชีจริง
ช่วงเวลาที่ควรย้ายจากบัญชีทดลองเป็นบัญชีจริงคือคำถามที่เทรดเดอร์มือใหม่หลายคนมักจะถามเข้ามา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมีวิธีบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์การซื้อขายที่เหมาะสมกับตัวคุณ
แม้ว่าบัญชีทดลองและ “เงินเสมือน” จะดีสำหรับการเรียนรู้แค่ไหนก็ตาม มีอยู่บ่อยครั้งที่มักจะเกิดการหลุดพ้นทางอารมณ์ (emotional detachment) กับการขาดทุนที่เกิดในบัญชีทดลอง ทำให้คุณไม่ได้ความรู้สึกที่แท้จริงกับการปิดการซื้อขายที่ขาดทุน มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้บัญชีทดลองเสียเงินไปไม่หยุด แต่ก็ยังจะฝากเงินเข้าจำนวนมากต่อไป
เมื่อคุณมีความเข้าใจในเรื่องกลยุทธ์ และควบคุมความวิตกกังวลกับการซื้อขายได้แล้ว คุณก็สามารถเริ่มซื้อขายด้วยเงินทุนจริง ๆ ได้เลย